วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

การจำแนกเพศปลาทอง

     การศึกษาความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองทำได้ไม่ยากนัก  ผู้เลี้ยงปลาโดยทั่วไปจะสามารถแยกเพศปลาทองได้   ผู้ที่ต้องการดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาทอง   หากเข้าใจวิธีการแยกเพศปลาทองเป็นอย่างดี  ก็จะช่วยให้เลือกซื้อหรือจัดเตรียมปลาทองเพศผู้และเพศเมียตามจำนวนที่ต้องการได้
                ความแตกต่างลักษณะเพศของปลาทองนั้น   ถ้าจะดูจากลักษณะภายนอกของลำตัวแล้วจะไม่พบความแตกต่างกัน   การแยกเพศจะทำได้ก็ต่อเมื่อปลาสมบูรณ์เพศ  คือ  เป็นปลาโตเต็มวัยแล้ว   ซึ่งต้องเลี้ยงไว้ประมาณ  6 - 8  เดือน   เมื่อปลาสมบูรณ์เพศแล้วปลาเพศผู้จะเกิด   ตุ่มสิว (Pearl  Organ หรือ Nuptial Tubercles) ซึ่งเป็นตุ่มหรือจุดเล็กๆสีขาว   เกิดขึ้นบริเวณก้านครีบอันแรกของครีบอก   และบริเวณกระพุ้งแก้ม  ซึ่งถ้าสังเกตุดีๆจะพอเห็นได้   และมักจะเกิดเด่นชัดเมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์ของปลาทอง   แต่ในช่วงนอกฤดูกาลผสมพันธุ์  เช่นในฤดูหนาว   หรือปลาไม่มีความพร้อมทางเพศ   ตุ่มสิวนี้จะมีขนาดเล็กสังเกตุได้ยาก   แต่ก็สามารถแยกเพศได้โดยการใช้มือลูบเบาๆที่ครีบอก   ถ้าเป็นปลาทองเพศผู้จะรู้สึกสากมือเนื่องจากมีตุ่มสิวดังกล่าว   แต่ถ้าเป็นปลาเพศเมียจะรู้สึกว่าครีบอกนั้นจะลื่น   นอกจากนั้นถ้าปลามีความพร้อมในการผลมพันธุ์   คือปลาเพศเมียมีไข่แก่   และปลาเพศผู้มีน้ำเชื้อสมบูรณ์   ถ้าจับที่บริเวณท้องของเพศเมียจะรู้สึกว่าค่อนข้างนิ่ม   และที่ช่องเพศจะขยายตัวนูนสูงขึ้น   ส่วนปลาเพศผู้ถ้าลองรีดที่บริเวณท้องลงไปทางช่องเพศ   จะเห็นว่ามีน้ำเชื้อซึ่งเป็นสีขาวขุ่นคล้ายน้ำนมไหลออกมาเล็กน้อยได้

                
 ภาพที่ 22  แสดงบริเวณก้านครีบอันแรกที่จะเกิดตุ่มสิวในปลาทองเพศผู้        
                               ที่มา : http://www.bloggang.com/mainblog.php (ขวา)      

 ภาพที่ 23  แสดงบริเวณก้านครีบอันแรกและกระพุ้งแก้มที่จะเกิดตุ่มสิวในปลาทองเพศผู้        
                      ที่มา : http://www.flickr.com/photos/cfm/663680680/     

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น