วันพุธที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2554

ลักษณะพันธุ์ของปลาทอง

จากการที่มีการพัฒนาทางด้านการเพาะพันธุ์   มีการคัดเลือกลักษณะเด่นที่ต้องการ  แล้วนำมาเพาะพันธุ์ต่อมาเรื่อยๆ   ทำให้ได้ปลาทองที่มีลักษณะและสีสันสวยงามหลายแบบด้วยกัน   และมีการตั้งชื่อพันธุ์ต่างๆไว้ดังนี้
                4.1 ปลาทองที่มีหางเดี่ยว   อาจเรียกหางปลาทู  หรือหางแฉก (Fork  Tail)   ลักษณะหางเป็นแผ่นแบนกว้าง   เว้าตรงกลางหรือเป็น  2  แฉก   มีสายพันธุ์ที่นิยม  2  สายพันธุ์   คือ
4.1.1 พันธุ์โคเมท (Comet)   เป็นปลาทองสายพันธุ์ดั้งเดิม   หรือต้นตระกูลของปลาทอง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างแบนยาวคล้ายปลาไน   ลำตัวมักมีสีแดง   สีแดงสลับขาว   หรือสีทอง   ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยม

     
                              ภาพที่ 5  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์โคเมท
                                           ที่มา : http://koiandfreshwaterfishblog.blogspot.com/ (ซ้าย)
                                                    http://petesfishplace.com/pages/ (ขวา)

4.1.2 พันธุ์ชูบุงกิง (Shubunkin)    ลักษณะคล้ายพันธุ์โคเมท   แต่จะมีจุดประที่ลำตัวหลายสี   เช่น  สีแดง  สีขาว  สีม่วง  สีส้ม  และสีดำ   เกล็ดจะค่อนข้างใส   จัดเป็นปลาทองที่สวยงามมากชนิดหนึ่ง   เนื่องจากมีสีเด่นหลายสี   สดใส   ได้รับความนิยมมากในสมัยก่อนและมีการตั้งชื่อไว้หลายชื่อ  เช่น   Speckled  Goldfish ,  Harlequin  Goldfish ,  Vermilion  Goldfish  หรือ  Coronation  fish 
      
                               ภาพที่ 6  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ชูบุงกิง
                                             ที่มา : http://www.aquarticles.com/ (ซ้าย)
                                                     http://goldfish2care4.com/goldfish-types/ (ขวา)               

                4.2 ปลาทองที่มีหางคู่   คือมีส่วนหางแยกออกเป็น  3 - 4  แฉก   มีทั้งที่มีครีบหลังตามปกติ   หรือบางชนิดไม่มีครีบหลัง   มีที่ได้รับความนิยมหลายสายพันธุ์  ดังนี้
4.2.1 พันธุ์ออแรนดา (Oranda) สมัยก่อนมักเรียกฮอลันดา   หรือฮอลันดาหัวแดง   ลักษณะลำตัวค่อนข้างยาว   มีครีบครบทุกครีบ   หางยาว   และมีลักษณะเด่นคือมีวุ้นที่ส่วนหัว (Hood) คล้ายพันธุ์หัวสิงห์   แต่มักไม่ขยายใหญ่เท่าหัวสิงห์   สีของวุ้นมักออกเป็นสีเหลืองส้ม   เป็นปลาทองที่มีขนาดใหญ่   และมีความสวยงามมากชนิดหนึ่ง   สีของลำตัวมักออกสีขาวเงิน    ชาวญี่ปุ่นเรียก   Oranda  Shishigashira

      
ภาพที่ 7  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ออแรนดา
                                                  ที่มา : http://www.aquariumslife.com/ (ซ้าย)
4.2.2 พันธุ์ริวกิ้น (Ryukin  or  Veiltail )   ลักษณะเด่น  คือ   เป็นพันธุ์ที่มีหางค่อนข้างยาวเป็นพวงสวยงามเป็นพิเศษ   คล้ายริบบิ้นหรือผ้าแพร   ทำให้มีชื่อเรียกได้หลายชื่อ  คือ  Fringetail ,  Ribbontail ,  Lacetail ,   Muslintail  และ  Japanese  Fantail   ในขณะที่ว่ายน้ำครีบหางจะบานเป็นสง่า   ลำตัวค่อนข้างกลมสั้น   และมักมีสีแดงสลับขาว  บางชนิดอาจมี 5 สี  เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก     

    
ภาพที่ 8  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ริวกิ้น

4.2.3 พันธุ์ตาโปน (Telescope-eyed  Goldfish)   อาจเรียก  Pop-eye  Goldfish   ชาวจีนนิยมเรียก  Dragon  Eyes   ชาวญี่ปุ่นเรียก  Aka  Demekin   ซึ่งแปลว่าตาโปนเช่นกัน   ลักษณะเด่นของพันธุ์  คือ  ลูกตาจะยื่นโปนออกมามากเหมือนท่อกล้องส่องทางไกล   พันธุ์ตาโปนที่นิยมเลี้ยงมี  5  ชนิด  คือ
             พันธุ์ตาโปนสีแดง (Red  Telescope-eyed  Goldfish)   มีสีแดงตลอดตัว   ได้รับความนิยมมากในญี่ปุ่น
      
ภาพที่ 9  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาโปนสีแดงขาว
                                               ที่มา : http://www.nicaonline.com/new-168.html
               พันธุ์มัว (Moor)   หรือเล่ห์ (Black  Moor  or  Black  Telescope-eye  Goldfish)  เป็นพันธุ์ที่รู้จักดีในประเทศไทยในชื่อ เล่ห์ หรือ ลักเล่ห์  ลักษณะเด่น  คือ  ลำตัวมีสีดำสนิทตลอด  ตาจะไม่โปนมากนัก  ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า  Kuro  Demekin

          
ภาพที่ 10  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์เล่ห์
                                                        ที่มา : http://www.petgoldfish.net/gallery/ (ขวา)     
                                                                                                          
                  พันธุ์ตาโปนสามสี (Calico  Telescope-eye  Goldfish)   รู้จักกันดีในประเทศไทยว่าลักเล่ห์ห้าสี   เป็นพันธุ์ที่มีเกล็ดค่อนข้างบาง   ลำตัวมีสีสันหลายสีสดเข้มและมักมีเพียง  3  สี   แต่สีที่พบในพันธุ์นี้จะมี  5  สี  คือ  สีแดง  สีขาว  สีดำ  สีน้ำตาลออกเหลือง  และสีแดงออกม่วง   ชาวญี่ปุ่นเรียกพันธุ์นี้ว่า  Sanshoku  Demekin

      
ภาพที่ 11  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาโปนสามสี
                                                            ที่มา : http://www.petgoldfish.net/gallery/ (ซ้าย)        
                                                            http://www.truaqua.com/ (ขวา)
                   พันธุ์ตาลูกโป่ง (Bubble  Eye  Goldfish)   ลักษณะเด่น  คือ  มีเบ้าตาพองออกคล้ายลูกโป่งทั้งสองข้าง   เวลาว่ายน้ำมักจะแกว่งไปมา   ลำตัวมักมีสีขาวหรือเหลืองแกมส้ม   มีทั้งที่มีครีบหลังและไม่มีครีบหลัง

      
ภาพที่ 12  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตาลูกโป่งที่ไม่มีครีบหลัง
                                           ที่มา : http://fishkipedia.com/bubble-eye-goldfish/ (ซ้าย)     
                                                                http://fishkipedia.com/unique-goldfish-variant/ (ขวา)        
                   พันธุ์ตากลับ (Celestial  Goldfish)   ลักษณะเด่น  คือ  ตาที่โปนออกมาจะหงายกลับขึ้นข้างบน   ชาวจีนเรียกว่า   Shotengan   แปลว่าตามุ่งสวรรค์   หรือตาดูฟ้า   ต่อมาชาวญี่ปุ่นนำไปเลี้ยงและพัฒนาได้หางสั้นกว่าเดิม   เรียก  Demeranchu

    
ภาพที่ 13  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์ตากลับ
                                                      ที่มา : http://fishkipedia.com/unique-goldfish-variant/ (ซ้าย)
                                                                                http://www.bristol-aquarists.org.uk/goldfish/ (ขวา)

4.2.4 พันธุ์เกล็ดแก้ว (Pearl  Scale  Goldfish)   ลักษณะลำตัวค่อนข้างกลมคล้ายลูกปิงปอง   ส่วนหัวเล็กมาก  หางยาว   ลักษณะเด่น คือ  มีเกล็ดนูนขึ้นมาต่างกับเกล็ดธรรมดาทั่วไปอย่างชัดเจน   สีของลำตัวมักมีสีขาว สีส้ม   และสีทอง     
    
ภาพที่ 14  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์เกล็ดแก้ว
                                              ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/ (ซ้าย) 
                                                                   http://www.petgoldfish.net/pearlscale-goldfish.html (ขวา)
4.2.5 พันธุ์หัวสิงห์ (Lionhead  Goldfish  or  Ranchu)   ลักษณะเด่นของพันธุ์นี้คือ   ไม่มีครีบหลัง   หางสั้นและเป็นครีบคู่   ที่สำคัญคือ  ส่วนหัวจะมีก้อนวุ้นปกคลุมอยู่   ทำให้มีชื่อเรียกได้อีกหลายชื่อ   เช่น  Hooded  Goldfish ,  Buffalo-head  Goldfish   ส่วนในญี่ปุ่นเรียก  Ranchu   ในประเทศไทยเรียกกันโดยทั่วไปว่า หัวสิงห์”   เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน   และนิยมจัดประกวดกันเป็นประจำ   จนอาจเรียกได้ว่าเป็นเจ้าพ่อของปลาทอง (King  of  The  Goldfish)   มีอยู่หลายชนิดที่นิยมเลี้ยง  ได้แก่
                  สิงห์ญี่ปุ่น   เป็นพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด   ลักษณะทั่วไปคือ  ลำตัวค่อนข้างสั้นและส่วนหลังโค้งมนสวยงาม   สีของลำตัวเป็นสีส้มเข้มเหลือบทองต้องตา   วุ้นที่ส่วนหัวมีลักษณะเล็กละเอียดขนาดไล่เลี่ยกันและค่อนข้างหนา   ครีบหางสั้นและจะยกสูงขึ้นเกือบตั้งฉากกับลำตัว   ครีบก้นเป็นครีบคู่มีขนาดเท่ากัน
    
ภาพที่ 15  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์หัวสิงห์
                                                      ที่มา : http://fishkipedia.com/unique-goldfish-variant/(ขวา)
                  สิงห์จีน   เป็นพันธุ์ต้นตระกูลของหัวสิงห์   กำเนิดในจีน   ลำตัวค่อนข้างยาว   ส่วนหลังไม่โค้งมากนัก   หางค่อนข้างยาวอ่อนลู่   หัวค่อนข้างใหญ่และมีวุ้นดกหนากว่าสายพันธุ์อื่น   และทางด้านท้ายของวุ้นไม่ขรุขระ   ทำให้มองเหมือนหัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว   สีของลำตัวเป็นสีส้มแกมทองแต่ไม่สดมากนัก  

   
ภาพที่ 16  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์จีน
                                                      ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/  (ซ้าย)   
                                                              http://www.bloggang.com/mainblog.php (ขวา)           
                   สิงห์หัวแดง  สิงห์ตันโจ  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น   แต่สีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน   ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีแดง

    
ภาพที่ 17  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์หัวแดง
                                                   ที่มา : สุรศักดิ์ (2538) (ซ้าย)
                   สิงห์ตามิด   ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์ญี่ปุ่น   แต่สีของลำตัวเป็นสีดำสนิทตลอดลำตัว   แม้กระทั่งวุ้นก็เป็นสีดำ   วุ้นค่อนข้างดกหนาจนปิดลูกตาแทบมองไม่เห็น 

            
ภาพที่ 18  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ตามิด
                                                                     ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/  (ซ้าย)   
                                                            http://www.bloggang.com/mainblog.php (ขวา)            
                   สิงห์ห้าส   ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์จีน   แต่มีสีบนลำตัว  5  สี   คือ  สีดำ  สีแดง  สีขาว สีน้ำเงิน  และสีเหลือง   เกล็ดค่อนข้างบางโปร่งใส

     
ภาพที่ 19  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์ห้าสี
                                                     ที่มา : http://www.ninekaow.com/
                   สิงห์เงิน  ลักษณะทั่วไปคล้ายสิงห์หัวแดง   มีสีของลำตัวเป็นสีขาวเงิน   แต่ส่วนหัวและวุ้นจะมีสีเงินด้วย

    
ภาพที่ 20  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์สิงห์เงิน
                                                      
                 สายพันธุ์อื่นๆ  ยังมีปลาทองอีกหลายสายพันธุ์ที่ผลิตขึ้นมาจากประเทศต่างๆ  โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นซึ่งเน้นผลิตปลาทองเพื่อการส่งออก  และค่อนข้างได้รับความนิยมจากตลาดต่างประเทศ ทำให้มีสายพันธุ์ใหม่ๆเกิดขึ้นเสมอ 
               
ภาพที่ 21  แสดงลักษณะของปลาทองพันธุ์อื่นๆ
                            ที่มา : http://www.bossranchu.com/technic_fish/ranchu0312.html      

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น